ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมตรุษจีนปีมังกร 2567 โดยมีนายนันทวัฒน์ ช่างการ ประธานชมรมศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน จัดกิจกรรมโดยชมรมศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมดีฮอลล์ ราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์
กิจกรรมประกอบด้วยการสาธิตวัฒนธรรมการจัดโต๊ะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบประเพณีนิยมอย่างจีน การแสดงเชิดสิงโต การแสดงดนตรีบทเพลงจีนโดยวงฉลองขวัญสังคีต และกิจกรรมเสวนา “ตรุษจีนของคนรุ่นใหม่ ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป” ดำเนินรายการโดยนายเกศไกรศร แก้วสามารถ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และนายพุฒิพงศ์ เจืออุปถัมย์ นิสิตระดับปริญญาเอกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง กรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาโดยนักศึกษาชาวไทยเชื้อสายจีน และนักศึกษาจีน ประกอบด้วย นายทินภัทร อุดมรัตนศิริชัย นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นายนฤสิริ เชาวน์ฤทธิ์ นิสิตระดับปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง นายศิษฏ์ โอภาสจิรวิโรจน์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเลิศดิลก แซ่ลก นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร และนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์เพื่ออาชีพและนวัตกรรมการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ ราชมงคลพระนคร
โครงการนี้เป็นการมีส่วนร่วมในประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมจีน เพื่อเกิดความเข้าใจในการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมร่วมกัน
ผู้มีส่วนร่วมในโครงการประกอบด้วย นายพุฒิพงศ์ เจืออุปถัมย์ นิสิตระดับปริญญาเอกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง กรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาโดยนักศึกษาชาวไทยเชื้อสายจีน และนักศึกษาจีน ประกอบด้วย นายทินภัทร อุดมรัตนศิริชัย นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นายนฤสิริ เชาวน์ฤทธิ์ นิสิตระดับปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง นายศิษฏ์ โอภาสจิรวิโรจน์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเลิศดิลก แซ่ลก นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการศาลเจ้าแม่ทับทิมท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร และนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์เพื่ออาชีพและนวัตกรรมการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ ราชมงคลพระนคร
ผลจากการมีส่วนร่วมนี้ทำให้นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ในวัฒนธรรมจีนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างได้อย่างไม่เกิดความแตกแยกเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกันอย่างมีความสุข
จากองค์ความรู้ในวัฒนธรรมจีนนี้ สามารถนำมาให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้เข้าใจพัฒนาทางความคิดเพื่อการอยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรมที่แตกต่าง เคารพและเข้าใจในความเชื่อของคนแต่ละเชื้อชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและไม่แตกแยก