ข่าวสาร

16 พฤศจิกายน วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก

วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เกิดจากยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งก็คือ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) เสนอให้จัดตั้งอนุสัญญาว่าด้วยความคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยตระหนักว่าการปกป้องพิทักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ควรเป็นภาระกิจร่วมกันของมนุษย์ชาติทั่วโลกโดยแหล่งมรดกโลก หรือ World Heritage Site คือพื้นที่ที่ได้รับจากขึ้นทะเบียนจาก ยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา โดยมีคณะกรรมการ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการคัดเลือกว่า พื้นที่นั้นๆ มีความเหมาะสม ในการพิจารณาให้เป็น “แหล่งมรดกโลก” หรือไม่

แหล่งมรดกโลกในประเทศไทย

             สำหรับประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้แก่

  1. นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา Historic City of Ayutthaya ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1991 หรือ พ.ศ.2534
  2. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1991 หรือ พ.ศ.2534
  3. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง Ban Chiang Archaeological Site ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี  ค.ศ.1992 หรือ พ.ศ.2535

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง Thungyai-Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuaries ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.1991 หรือ พ.ศ.2534 โดยพื้นที่บางส่วนครอบคลุมอยู่ในเขตจังหวัดอุทัยธานี ตาก และกาญจนบุรี
  • กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ Dong Phayayen-Khao Yai Forest Complex ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.2005 หรือ พ.ศ.2548 โดยพื้นที่บางส่วนครอบคลุมอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์
  • กลุ่มป่าแก่งกระจาน Kaeng Krachan Forest Complex ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี ค.ศ.2021 หรือ พ.ศ.2564 โดยพื้นที่บางส่วนครอบคลุมอยู่ในเขตของจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

มรดกโลก ไม่ว่าจะเป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” หรือ “มรดกโลกทางธรรมชาติ” ที่มีอยู่ทั่วโลก            ล้วนเป็นสิ่งทรงคุณค่า ต้องหวงแหน ปกป้อง รักษาไว้ให้เป็นสมบัติของโลก และร่วมกันอนุรักษ์ไปยังรุ่นลูกหลาน สืบต่อไป

แหล่งที่มาของข้อมูล : ข้อมูลจาก ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กองการต่างประเทศ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช https://portal.dnp.go.th/