ข่าวสาร

วันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day; WED) เป็นวันที่ได้รับการประกาศจากองค์การสหประชาชาติ สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและรู้ทันเหตุการณ์

ประวัติวันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day นั้นก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน 2515 โดยรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” หรือ “UN Conference on the Human Environment” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1300 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีว่าเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก

 

โดยในปี 2565 มีคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก คือ : Only One Earth (Living Sustainably in Harmony with Nature. โลกเพียงใบเดียว อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

กิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก

การจัดงานในวันสิ่งแวดล้อม อาจจะทำให้ประชาชนและเยาวชนเกิดความคิดและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมและร่วมมือทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศเราไว้ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยังคงมีอยู่ยั่งยืนตลอดไป ด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้โลกได้อยู่กับเรานาน ๆ

  1. จัดนิทรรศการด้านพลังงาน

การจัดงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการนิทรรศการวันสิ่งแวดล้อมโลก ให้โลกสวยด้วยมือเรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการร่วมมือกันระหว่างชุมชน หรือสถาบัน เพื่อให้ระลึก และช่วยกันอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลก

  1. กิจกรรมการปลูกต้นไม้

การปลูกต้นไม้ เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป รวมถึงการคัดแยกก่อนจะทิ้งเป็นขยะ เปลี่ยนสภาพนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยกันปลูกต้นไม้อีก 5 เท่าจึงจะเพียงพอ เพราะปริมาณการใช้ไม้และจำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลงในปัจจุบันนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วมากกว่าที่ปลูกอยู่ในปัจจุบันมากถึง 5 เท่า จึงจะเพียงพอกับการใช้ประโยชน์ในอนาคต

  1. แยกทิ้งเศษกระดาษจากขยะอื่น

กิจกรรมการแยกขยะ ด้วยการทำโครงการไม่ทิ้งเศษกระดาษลงในถังกับขยะอื่น ๆ เพราะจะทำให้กระดาษเปรอะเปื้อนไขมันและเศษอาหารจะทำให้เศษกระดาษนั้นนำไปผลิตใหม่อีกไม่ได้ และแหล่งสร้างขยะกระดาษที่สำคัญก็คือหนังสือพิมพ์ หน้าที่เป็นขยะกระดาษโดยผู้อ่านไม่ได้อ่าน ก็คือหน้าโฆษณาธุรกิจ นั่นคือการทำลายกระดาษสะอาดและสร้างขยะกระดาษให้เกิดขึ้นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ส่วนขวดแก้วทุกชนิดที่บรรจุของเมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาด และแยกชนิดของแก้ว และแยกสีของแก้วด้วยนำกระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้แล้วมาบี้ให้แบนก่อนทิ้ง หรือขายแก่คนรับซื้อเศษโลหะ

  1. ลดใช้ถุงพลาสติก

ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งและหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี

ที่มา : https://www.worldenvironmentday.global/ nanitalk