คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้จัดโครงการสืบสานประเพณีลอยกระทง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งอรุณ พรเจริญ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีลอยกระทง อันเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมายาวนาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากประเพณีนี้ โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาได้เข้าร่วมจำนวนมาก ณ ห้องประชุมกรมหลวง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการการประชุมวิชาการและนิทรรศการ ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 21 – 25 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ การนี้ ดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในนามศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ภายใต้ศูนย์แม่ข่ายภาคกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเฝ้ารับเสด็จ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยงานศิลปวัฒนธรรม กองกลาง ได้นำเสนองานวิชาการเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบโปสเตอร์ เรื่อง “สวนโบราณย่านจอมทอง” อันเป็นพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ( 29 ไร่ 15 ตารางวา) ที่ได้รับมอบจากคุณปนัดดา สุวรรณานนท์ ซึ่งมีแผนการพัฒนาพื้นที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (อพ.สธ.ราชมงคลพระนคร) รวมทั้งมีการเชื่อมประสานกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

15 พฤศจิกายน 2566 อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มอบหมายให้ ดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม พิจารณาคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน การนี้ ดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม พิจารณาส่ง นายถาวร อ่อนละออ นางสาวทัศนีย์ น้อยแดง นายพัศวุฒิ บริบูรณ์ เพื่อเข้าร่วมประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินความต้องการในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ในการประชุมดังกล่าวมีคุณธนิรัตน์ ธนวัฒน์ ผู้จัดการโครงการอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินความต้องการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีพันธมิตร ในการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่บูรณาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ การประชุมนี้ จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ ห้องประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. มีผู้บริหารและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วม โดยมีแผนจะจัดครั้งต่อไปในจังหวัดชลบุรี ตามลำดับ ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการพัฒนาบุคลากรทั้งระดับบริหารและปฏิบัติการให้มีความเข้าใจในเรื่องนี้ ถือเป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะมุมมองต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่เชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง อีกทั้ง อปท. ยังต้องการการสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อให้มีบุคลากรที่มีความรู้และเกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จัดโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill) ประจำปี 2566 ภายใต้นโยบายของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยนวัตกรรม หัวข้อ “โครงการพัฒนาทักษะงานด้านเกษตรอัจฉริยะในตลาดดิจิทัล”

ดร.ก้องเกียรติ มหาอินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสำรวจทรัพยากรภูมิปัญญาและวัฒนธรรม เพื่อสนองโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ณ พื้นที่ราชมงคลพระนคร เขตจอมทอง เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566