ชื่อวิทยาศาสตร์ : | Bauhinia purpurea Linn. |
---|---|
ชื่อสามัญ | – Orchid Tree – Purple Orchid Tree – Butterfly Tree – Purple Bauhinia – Hong Kong Orchid Tree |
ชื่อท้องถิ่น | – ชงโค (กลาง และทั่วไป) – เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ) – เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้) – เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) – เสี่ยว/เสี้ยว (อีสาน) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น | ชงโค/เสี้ยว เป็นไม้ยืนต้นประเภทพลัดใบ มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งเป็นน้อย เปลือกลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกขรุขระ |
ใบ | ใบชงโค เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แทงออกเป็นเดี่ยวสลับข้างกันบนข้อกิ่ง ใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวสด ใบมีลักษณะค่อนข้างมน แผ่นใบ และขอบใบเรียบ โคนใบ และส่วนปลายจะหยักโค้งมนตรงกลาง ทำให้ใบแลดูคล้ายใบแฝดหรือคล้ายรูปไต ใบกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ใบอ่อนกางแผ่น้อยทำให้แลดูคล้ายปีกผีเสื้อ ส่วนการพลัดใบจะเริ่มพลัดใบไปเรื่อยตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม และจะเริ่มแทงยอด และใบอ่อนเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนเดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากนั้น จะเริ่มแทงช่อดอกออกมาทีหลัง และเริ่มติดฝัก |
ดอก | ดอกชงโคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีรูปร่างคล้ายดอกกล้วยไม้ ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 5-10 ดอก ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมชมพู ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เมื่อดอกบาน ดอกจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกสามารถออกได้ตลอดทั้งปี |
ผล | ผลหรือฝักชงโคมีลักษณะเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว มีรูปร่างแบน ฝักมีขนปกคลุม ฝักมีขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 20-25 ซม. ฝักจะเริ่มทยอยติดตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม จนแก่ในช่วงเดือนกันยายน ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล และเมื่อแก่จัดจะมีสีดำ |
ประโยชน์ | 1. ดอกชงโคมีสีม่วงอมชมพู มีรูปร่างคล้ายดอกกล้วยไม้ และออกเป็นช่อ จึงนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับต้น และเพื่อชมดอก 2. นอกจากการปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับแล้ว ชงโคในช่วงแตกใบใหม่จะมีทรงพุ่มหนาทำให้เป็นร่มเงาได้เป็นอย่างดี 3. ชงโคใช้ปลูกเป็นไม้มงคล เนื่องจากมีความเชื่อว่า เป็นต้นไม้ของพระนารายณ์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู รวมถึงตามความเชื่อของคนไทยเองตามวรรณกรรมต่างๆยังเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู ซึ่งจะช่วยปกปักษ์รักษาให้คนในครอบครัวมีความสุก ไม่มีอันตรายเข้ามาย่ำกราย 4. ยอดอ่อนใบชงโคนำมาใส่ในต้มส้ม ต้มยำ ช่วยดับกลิ่นคาว และช่วยเพิ่มรสให้แก่อาหาร 5. ยอดอ่อน และฝักอ่อนใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ |
สรรพคุณชงโค | ใบ – ใบนำมาตากแดด ใช้ชงเป็นชาดื่ม – ใบนำมาขยี้ และผสมน้ำเล็กน้อยใช้ประคบรักษาแผล และช่วยในการห้ามเลือด – ใบอ่อนใช้เคี้ยวเพื่อลดกลิ่นปาก ดอก – ดอก นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยลดอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ เปลือก – เปลือกลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ – น้ำต้มจากเปลือกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ราก – ราก นำมาต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขับลม – น้ำต้มจากรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ |