่มะกอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Spondias pinnata (L. f.) Kurz
ชื่อสามัญ Hog plum, Wild Mango[
ลักษณะของมะกอกต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย
ใบมะกอก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-6 คู่ โดยจะออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเบี้ยวหรือขอบไม่เท่ากัน ส่วนขอบใบเรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อใบหนาเป็นมัน หลังใบเรียบเกลี้ยง ส่วนท้องใบเรียบ มีก้านใบร่วมยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร
ดอกมะกอก ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน โดยจะออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมากและมีขนาดเล็ก ดอกย่อยเป็นสีครีม มีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม มีขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลมะกอก ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีเหลืองอมสีเขียวถึงสีเหลืองอ่อน ประไปด้วยจุดสีเหลืองและดำ มีรสเปรี้ยวจัด ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ
สรรพคุณของมะกอกสรรพคุณของมะกอก
เปลือกต้น ใบ และผล ใช้กินเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น, ใบ, ผล)[2]
เนื้อในผลมีสรรพคุณช่วยแก้ธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติและกระเพาะอาหารพิการ (เนื้อในผล)[2],[3]
ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณช่วยแก้โรคขาดแคลเซียมได้ (ผล)[3]
เปลือกต้นมีรสฝาดเย็นเปรี้ยว มีสรรพคุณช่วยดับพิษกาฬ (เปลือกต้น)[1],[2],[3]
ใบมีรสฝาดเปรียว นำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู แก้หูอักเสบ แก้อาการปวดหู (ใบ)[1],[2],[3]


รากมีรสฝาดเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ (ราก, เปลือกต้น, ใบ, ผล)[1],[2],[3] เมล็ดนำมาเผาไฟ แช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ (เมล็ด)[2],[3] ส่วนเปลือกต้นก็มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนในเช่นกัน (เปลือกต้น)[1],[2],[3]
ผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน เป็นยาฝาดสมาน ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟันได้ เพราะมีวิตามินซีสูง (เปลือกต้น, ใบ, ผล)[2],[3],[4]
ช่วยแก้อาเจียน (เปลือกต้น)[1],[3]
ช่วยแก้อาการสะอึก (เปลือกต้น, เมล็ด)[1],[2],[3]
เมล็ดนำมาเผาไฟ สุมแก้หอบ (เมล็ด)[2] ส่วนผล ใบ และเปลือกต้นก็มีสรรพคุณแก้หอบได้เช่นกัน (เปลือกต้น, ใบ, ผล)[4]
เปลือกต้นและแก่นเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (เปลือกต้น, แก่น)[4]
ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบ)[2]
ใบใช้เคี้ยวกินแก้อาการท้องเสีย (ใบ)[2]
ช่วยแก้บิดปวดมวนท้อง แก้ท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ (เปลือกต้น)[1],[3],[4] ส่วนผลหรือเนื้อในผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด (เนื้อในผล)[2],[3]
รากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)[1],[2],[3] บ้างว่าใช้เมล็ดนำมาสุมไฟ แช่กับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)[3]
ช่วยแก้ดีพิการ (ผล)[3]
เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยในการสมานแผล มีกลิ่นหอม ฝาดสมาน และเป็นยาเย็น (เปลือกต้น)[4] ส่วนใบก็มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานเช่นกัน (ใบ)[4]
เปลือกนำมาป่นให้เป็นผง ผสมกับน้ำ ใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ (เปลือก)[6]
ส่วนบางข้อมูลระบุว่า ผลมีสรรพคุณแก้ไข้หวัดทุกชนิด แก้โรคน้ำกัดเท้า โรคขาดธาตุปูน ทำเป็นยาอาบห้ามละลอก เปลือกต้นมีสรรพคุณรักษาแผลพุพอง ดับพิษไข้ ทำเป็นยาอาบห้ามละลอก ส่วนรากเป็นยาแก้ไข้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้พิษสำแดงจากการกินของแสลงที่เป็นพิษ (ข้อมูลส่วนนี้ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ จึงไม่ขอยืนยันความถูกต้องนะครับ
ประโยชน์ของมะกอก1.ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ ส่วนผลสุกจะนิยมนำมาใส่ส้มตำ น้ำพริก ยำ และใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยว โดยจะมีรสเปรี้ยวและฝาดเล็กน้อยนอกจากนี้เนื้อในของผลสุกยังสามารถนำมาใช้ทำน้ำผลไม้หรือทำเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วย โดยนำมาปอกเปลือกออกฝานเอาแต่เนื้อไปเข้าเครื่องปั่น เติมน้ำเชื่อมให้มีรสหวานตามชอบใจ ก็จะได้น้ำมะกอกปั่นที่มีกลิ่นและรสชาติอร่อยไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อีกด้วย
2. ผลมะกอกมีสารต้านมะเร็งและสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยคุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนมะกอกต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย พลังงาน 46 กิโลแคลอรี, ใยอาหาร 16.7 กรัม, เบตาแคโรทีน 2,017 ไมโครกรัม, วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม, วิตามินซี 53 มิลลิกรัม, แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
3. ผลยังใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่าได้เป็นอย่างดี นายพรานป่ามักจะเฝ้าต้นมะกอกเพื่อรอส่องสัตว์ป่าที่เข้ามากินผลมะกอกที่ร่วงอยู่บนพื้น
4. ยอดมะกอก
ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยใช้รับประทานทั้งสุกและดิบร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ น้ำตก และอาหารประเภทยำที่มีรสจัด (ชาวเหนือนิยมนำมาสับผสมลงไปในลาบ เพื่อช่วยให้รสชาติไม่เลี่ยนและอร่อยขึ้น) ส่วนช่อดอกมะกอกใช้กินแบบดิบ ๆ ส่วนชาวปะหล่องจะใช้เปลือกต้นขูดเป็นฝอยแล้วนำมาใส่ลาบกิน
5. ใบมีกลิ่นหอม นอกจากจะใช้เป็นผักจิ้มแล้วยังใช้แต่งกลิ่นอาหารได้
6. ยางจากต้นมีลักษณะใสเป็นสีน้ำตาลปนแดง ไม่ละลายน้ำ แต่จะเกิดเป็นเมือก สามารถนำมาใช้ติดของ และทำให้เยื่อเมือกอ่อนนุ่ม
7. เนื้อไม้มะกอกเป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ หีบศพ ฯลฯ บางข้อมูลระบุว่าสามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างบ้านได้