พิกุล

ชื่อวิทยาศาสตร์Mimusops elengi Linn.
ชื่ออื่นๆ แก้ว (เชียงใหม่) ซางดง (ลำปาง)
ลักษณะทั่วไปไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว
ใบใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กว้าง 2 - 6 ซม. ยาว 7 - 15 ซม.ปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเป็นคลื่น
ดอกดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผลผลสีเหลือง รสหวานอมฝาด
ประโยชน์- ปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงเรือเดินทะเล เครื่องมือการเกษตร
- เปลือกต้น ต้มอมกลั้วคอ แก้เหงือกอักเสบ
- เนื้อไม้ที่ราลงมีสีน้ำตาลเข้มประขาว มีกลิ่นหอม เรียกว่า ขอนดอก ใช้บำรุง ตับ ปอด หัวใจ และบำรุงครรภ์
- ดอก มีกลิ่นหอมจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอกใช้ทาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ผลสุก ใช้รับประทานได้
- เมล็ด ตำให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดสำหรับสวนเวลาท้องผูก
การปลูกเลี้ยงปลูกได้ในดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ชอบแดดจัด ทนต่อสภาพต่างๆ ได้ดี ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง