ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ficus benjamina L. |
---|---|
ชื่ออื่นๆ | จาเรป (เขมร), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไทรย้อยใบแหลม (ตราด, กรุงเทพฯ) |
ชื่ออื่นๆ (อังกฤษ) | Golden Fig, Weeping Fig |
ลักษณะทั่วไป | เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร สามารถสูงได้ถึง 30 เมตร ตามธรรมชาติ ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น |
ใบ | ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี ปลายใบเรียวแหลม ใบมีขนาดยาว 6-13 เซนติเมตร ผิวเป็นมัน |
ดอก | ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน มีสีเหลืองหรือน้ำตาล ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน |
ผล | ผลแบบมะเดื่อ ทรงกลมขนาด 5-8 มิลลิเมตร ออกเป็นคู่หรือเดี่ยวตามซอกใบ ผลสุกสีส้มแดงเข้ม เมล็ดเล็กๆจำนวนมาก ออกผลในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน |
ประโยชน์ | ตำรายาไทยใช้ รากอากาศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย) ผลของต้นไทรยังเป็นอาหารของนกหลายชนิดอีกด้วย |