กิจกรรมออนไลน์

กิจกรรมออนไลน์ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา 5 กรกฎาคม 2563

5 กรกฎาคม 2563 วันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2563

ชมวิดีทัศน์ประวัติความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชาได้ที่นี่ 

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ อาสาฬหเป็นชื่อเดือน 8 อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 8 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หลังแทน หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ แล้ว ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการได้แก่
1. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ ความดับทุกข์
4. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

หลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบทูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น”ปฐมสาวก” ของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า “ปฐมเทศนา” หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ

แหล่งข้อมูล : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
เรียบเรียงข้อมูลโดย กองศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

รายชื่อนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม

รายชื่อผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่